วันเสาร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 15
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่  12 กุมภาพันธ์ 2557
เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.

ความรู้ที่ได้รับจากการเรียนในวันนี้
เป็นการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย ให้นักศึกษาประดิษฐ์สื่อออกมา กลุ่มละ 1 ชิ้น ต่อ 3คน มีการนำเสนอดังนี้
1.รูปทรงเรขาคณิตน่ารู้
2.จำนวนนับพาเพลิน
3.รูปทรงเรขาคณิตกับของใช้ในชีวิตประจำวัน
4.เกมเรียงลำดับพาเพลิน
5.นาฬิกาหรรษา
6.เอ๊ะมี่กี่รูปนะ
7.จับคู่หรรษา
8.คณิตคิดสนุก
9.ติ๊กต๊อก
10.มาช่วยกันนับเถอะค่ะ
11.กล่องมหัศจรรย์
12.จับคู่ภาพสีต่างกัน
13.บันไดมหาสนุก
14.จิ๊กซอว์หรรษา
15.แผงไข่นับเลข
16.ตัวต่อแสนสนุก
17.ร้านค้าพาเพลิน
     กลุ่มของข้าพเจ้าทำสื่อชื่อจับคู่หรรษา เป็นการทำสื่อรูปทรงสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมมุมฉาก จะมีรูปตัวแบบเช่นสามเหลี่ยม แล้วมีรูปนกอยู่ในรูปทรงนั้น แต่รูปนกจะมีสีดำครึ่งตัว จะให้ผู้เล่นนำรูปมาต่อให้สมบูรณ์ จะกำหนดได้ 2 แบบคือ 1. หารูปที่มีรูปทรงเหมือนกัน 2.หารูปที่มีรูปทรงต่างกัน
                                           
 


สื่อที่ข้าพเจ้าสนใจมากคือ   แผงไข่นับเลข
สื่อชิ้นนี้ที่เพื่อนทำได้น่ารักมาก สื่อชี้นนี้จะนับเลขจากกลีบดอกไม้ เช่น กลีบดอกไม้ มี 3 กลีบ ก็คือให้เด็กนับ 3 และสื่อชิ้นนี้ได้ประดิษฐ์จากเศษวัสดุเหลือใช้
                                         


ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-สามารถนำเศษวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เพื่อนทำป็นสื่อในการเรียนการสอนได้
-การทีจะให้เด็กได้เล่นสื่อหรือครูจัดกิจกรรมให้กับเด็ก ควรสอนวิธีการเล่นให้เด็กด้วย
-สื่อที่จะนำมาจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กจะต้องมีความคงทน แข็งแรงเหมาะกับมือเด็กด้วย

-การจัดกิจกรรมโดยผ่านสื่อ ควรบูรณาการให้เด็กได้รู้จักตัวเลข รูปทรง ขนาดของสื่อนั้นด้วย

            

บันทึกการเรียนครั้งที่ 14
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่  5 กุมภาพันธ์ 2557
เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.
วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน

……………………………………………………………………


วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 13
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ตฤณ  แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่  29 มกราคม 2557
เวลาเข้าสอน 08:00น. เวลาเรียน 08:30น. เวลาเลิกเรียน 12:20 น.

              วันนี้ครูให้แบ่งกลุ่มเขียนแผนเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มของดิฉันได้คิดกิจกรรมเขียนแผนดังนี้
อนุบาล  1 กิจกรรม จังหวะพาเพลิน
อนุบาล  2 กิจกรรม เวลาหรรษา
อนุบาล  3 กิจกรรม รูปทรงแสนสนุก

รูปภาพบรรยากาศในการทำกิจกรรม


ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-เด็กได้รับพัฒนาการ ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
-นักศึกษา รู้วิธีการเขียนเพื่อจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย ในช่วงอายุที่ต่างกัน

-นักศึกษา มีแนวทางหรือวัตถุประสงค์ในการเขียนแผนมากขึ้น


วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่12
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 22 มกราคม 2557 
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

กิจกรรมวันนี้ อาจารย์ถือกระดาษมาเหมือนเดิม แต่วันนี้ดูเยอะกว่า ครั้งที่แล้วอีก แล้ววันนี้อาจารย์จะให้ทำอะไรน๊า  ไปดูกันได้เลย

กิจกรรมที่ 1
เอ๊ะๆ เค้าทำอะไรนะ


ผลงานทำเสร็จแล้ว












ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-เด็กสามารถจำแนกสี และรูปทรงต่างๆได้
-เด็กและครูสามารถนำกิจกรรมนี้ไปเล่านิทานเพื่อเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กได้
-
....................................................................................................................

กิจกรรมที่ 2
การเปรียบเทียบ แล้วจะเปรียบเทียบอะไรกันบ้าง เด็กๆดูดีๆ นะคะ






      กิจกรรมที่ทำวันนี้ 
      1.การเปรียบเทียบของใช้ระหว่าง ห้องนอน กับห้องครัว


2.การเปรียบเทียบ ความเหมือน- ความต่าง


3.การสำรวจ สิ่งที่ชอบ

                           .................................................................................................................


ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-เด็กสามารถจำแนกหรือเปรียบเทียบสิ่งของที่อยู่ในห้องนอนหรือห้องครัวได้
-เด็กสามารถจำแนกความเหมือนความต่างของสัตว์ชนิดต่างๆได้

-เด็กสามารถบอกสิ่งของที่ชอบหรือไม่ชอบได้


วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 11
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 15 มกราคม 2557 
เวลาเข้าสอน 08.00 น. เวลาเรียน 08.30 น.เวลาเลิกเรียน 12.20 น.

                    วันนี้อาจารย์หอบ กระดาษสี กระดาษปอนด์ สี มาเยอะแยะเลย จะให้พวกเราทำอะไรกันนะ มาดูกันเลย     .....ว้าว........ วันนี้อาจารย์จะให้นักศึกษา ทำ big book แต่จะเป็นเรื่องอะไรต้องไปดูกันเอาเองนะคะ

นั่นตัวอะไรร้องเสียง อู้ด อู้ด        นิทานเรื่องนี้มีหมูด้วย จะเป็นเรื่องอะไรไปดูกันเลย

นิทาน เรื่องลูกหมูเก็บฟืน

กาลครั้งหนึ่งมีบ้านอยู่สามหลัง หลังที่หนึ่งมีรูปร่างเป็นวงกลม หลังที่สองมีรูปร่างเป็นสามเหลี่ยม และหลังที่สามมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม ในบ้านแต่ละหลังมีลูกหมูอาศัยอยู่ หลังละ 2 ตัว หมูแต่ละตัวจะออกไปทำงานทุกเช้า หมูที่อยู่บ้านหลังที่เป็นวงกลมต้องเดินทางไปที่ทำงานซึ่งไกลมาก หมูที่อยู่บ้านสามเหลี่ยมกับสี่เหลี่ยมเดินทางไม่ไกลจากที่ทำงาน หมูที่อยู่บ้านหลังวงกลมเดินทางไปเก็บฟืนในป่า ซึ่งในป่ามีฟื้นเยอะแยะเลย เจ้าหมู 2 ตัวนี้ก็เลยเรียกเพื่อนที่อยู่บ้านหลังสี่เหลี่ยมกับสามเหลี่ยมเพื่อมาช่วยเก็บฟืนในป่า หมูทั้ง 6 ตัวช่วยกันนับฟืนที่เก็บได้มีทั้งหมด 10 ท่อน แล้วหมูก็นำฟืนสามท่อนไปจุดไฟเพื่อทำกับข้าว หมูก็เลยเหลือฟืนทั้งหมด 7 ท่อน และหมูก็นำฟืน 7 ท่อนที่เหลือเก็บไว้ใช้ในวันต่อไป

รูปภาพการทำกิจกรรม





ภาพรูปเล่นหนังสือนิทานเรื่อง ลูกหมูเก็บฟืน







ขาด 1 ภาพ



ภาพรวม



















วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557


บันทึกการเรียนครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 8 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น. เวลาเลิกเรียน 12.20

วันนี้เข้าเรียนเกือบสาย ทันเวลาที่อาจารย์ปั้มดาวพอดี เสียใจกับเพื่อนคนที่มาช้าเหมือนกันนะ
 เลยไม่ได้ปั้มดาวการ์ตูน........................
วันนี้เรียนเกี่ยวกับมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์เด็กปฐมวัย อาจารย์ก็ได้ถามว่า เคยได้ยินมั้ย เคยเห็นหนังสือเล่นนี้มั้ย  งั้นเรามาดูกันสิว่ามาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมเป็นยังไง น่าสนใจแค่ไหน  มามะมาดูกันจร้า



   กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย

       เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์
ให้เด็กได้เตรียมความพร้อมในด้านต่างๆทางคณิตศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในชั้นประถมศึกษา
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้
- สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
- สาระที่ 2 การวัด
- สาระที่ 3 เรขาคณิต
- สาระที่ 4 พีชคณิต
- สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
- สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

1.มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ (Mathematical thinking )
-จำนวนนับ 1 ถึง 20
-เข้าใจหลักการนับ
-รู้จักตัวเลขฮินดูอารบิกและตัวเลขไทย
-รู้ค่าจำนวนนับ
-เปรียบเทียบ เรียงลำดับ
-การรวมและการแยกกลุ่ม

2.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับ ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร  เงิน เวลา
-เปรียบเทียบ  เรียงลำดับ และวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร
-รู้จักเงินเหรียญบาทและธนบัตร
-เข้าใจเกี่ยวกับเวลาและคำที่ใช้บอกช่วงเวลา  เช่น วันนี้ ตอนนี้ เมื่อวาน ตอนสายๆ เป็นต้น

3.มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
-ตำแหน่ง ทิศทาง ระยะทาง
-รูปเรขาคณิตสามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ
4.มีความรู้ความเข้าใจแบบรูป ของรูปที่มีรูปร่าง ขนาด สีที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง

5.มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่ายเด็กจะทำได้ตั้งแต่อนุบาล 3 ขึ้นไป

6.มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

                    สาระมาตรฐานและการเรียนรู้

      สาระที่1 จำนวนและการดำเนินการ

    -มาตรฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนจริง

        จำนวน
- การใช้จำนวนบอกปริมาณที่ได้จากการนับ
- การอ่านเลขอารบิก เลขไทย และการเขียน
- การเปรียบเทียบจำนวน
- การเรียงลำดับจำนวน
การรวมกลุ่มและการแยกกลุ่ม
- ความหมายการรวม
- รวมสิ่งต่างๆที่มีผลรวมไม่เกิน 10
- ความหมายการแยก และ การแยกกลุ่มย่อยออกจากกลุ่มใหญ่ ไม่เกิน 10

  สาระที่ 2 การวัด

  -มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว  น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

   ความยาว  น้ำหนักและ ปริมาตร

-การเปรียบเทียบ/การวัด/การเรียงลำดับความยาว
-การเปรียบเทียบ/การชั่ง/การเรียงลำดับน้ำหนัก
-การเปรียบเทียบปริมาตร/การตวง

     เงิน
-ชนิดและค่าของเงิน เหรียญและธนบัตร

    เวลา
-ช่วงเวลาในแต่ละวัน
-ชื่อวันในสัปดาห์และคำที่ใช้บอกเกี่ยวกับฉัน

สาระที่ 3 เรขาคณิต

 -มาตรฐาน ค.ป. 3.1  รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทางและระยะทาง
 -มาตรฐาน ค.ป. 3.2  รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
  ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

-การบอก ตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง ของสิ่งต่างๆ เช่น ไกล ใกล้  ซ้าย ขวา   เป็นต้น

  รูปเรขาคณิต สามมิติและรูปเรขาคณิตสองมิติ

-ทรงกลม ทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก กรวย  ทรงกระบอก
-วงกลม  รูปสามเหลี่ยม  รูปสี่เหลี่ยม
-การเปลี่ยนแปลง รูปเรขาคณิตสองมิติ
-การสร้างสรรค์งาน ศิลปะจากรูปเรขาคณิต
-การเปลี่ยนแปลงรูปเรขา

สาระที่ 4  พีชคณิต

-มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์

  แบบรูปและความสัมพันธ์

-แบบรูปของรูปที่มี  รูปร่าง ขนาดที่สัมพันธ์กันอย่างใดอย่างหนึ่ง


สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น

-มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมนำเสนอ

สาระที่ 6 ทักษะ ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

   การแก้ปัญหา  การใช่เหตุผล  การสื่อสาร  การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์และการนำเสนอ  การเชื่อมโยงความรู้ต่างๆ ทางคณิตศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์ กับศาสตร์อื่นๆ และมี ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์              


วันนี้ก็มีกิจกรรมส่งท้ายให้นักศึกษาได้ทำตามเคย เนื่องจากเดินเข้าในห้องแล้ว เห็นกล่องสี กระดาษสี ดินสอ แน่นอนเลยคะว่าไม่วาดรูป ก็ตัดกระดาษเป็นรูปต่างๆ แต่จะเป็นอะไรต้องไปดูกันเอาเองนะคะ  

อ๊ะๆๆอะไรเอ่ย  น่ารักมั้ยคะ หนูมีชื่อว่าน้องหนู ปุกปุย


จากการทำกิจกรรม
เด็กได้รูจักรูปทรงที่ใช้ในการวาดรูป ว่ามีรูปทรงอะไรบ้าง มีขนาดใหญ่หรือเล็ก แล้วก็มีการตกแต่งให้สวยงาม วาดรูปขนมเข้าไป เพื่อให้ดูสวยงาม

ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-เด็กปฐมวัยจะต้องรู้จัการนับเลข 1-10 ทั้งเลขไทย และเลขอารบิก
-เด็กต้องรู้จักการเปรียบเทียบขนาดของวััตถุต่าง ที่เด็กได้เห็น ไม่ว่าจะเป็น ขนาด ใหญ่ - เล็ก  สูง - ต่ำ
-ครูผู้สอนควรให้ความสำคัญในการเรียนการสอนของเด็กด้วย

-ครูผู้สอนควรให้คำแนะนำกับเด็ก เมื่อเด็กรู้สึกสงสัย และควรหากิจกรรมให้เด็กได้ลองทำดู