วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 18 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น. เวลาเลิกเรียน 12.20


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
ขอให้เพื่อนๆตั้งใจอ่านหนังสือสอบนะคะ





บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 11 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น. เวลาเลิกเรียน 12.20



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีการจัดกิจกรรมกีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์




วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 4 เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2556
เวลาเข้าสอน 08.30 อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น. เวลาเลิกเรียน 12.20


วันนี้เป็นการนำเสนอต่อจาก วันที่ 27 /12 /56  โดยเป็นการนำเกมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก มานำเสนอวิธีการเล่น มีดังนี้

กลุ่ม พีชคณิต
เพื่อนกลุ่มนี้มีกิจกรรมมานำเสนอ คือ หาภาพที่หายไปมาเติมในช่องว่างที่กำหนดให้  ที่คิดว่ามันสัมพันธ์กัน  เช่น มีช่องว่างให้เติม
ช่องที่  1 เป็น แมว   ช่องที่ 2 เป็น ลิง   ช่องที่ 3 เป็น ไก่
ช่องที่ 4 เป็น แมว   ช่องที่ 5 เป็น ลิง    ช่องที่ 6 เป็น...... เป็นต้น

   

กลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เพื่อนกลุ่มนี้มีกิจกรรมมานำเสนอ คือ
    นำลูกปิงปอง สีส้ม สีขาว สีน้ำเงิน มารวมกันแล้ว สุ่มจับมาหนึ่งลูก  ทายว่าจะออกมาสีไหน สีขาว  สีส้ม หรือ  สีน้ำเงิน               
 *  ถ้าสมมติว่า  ลูกปิงปอง  2 สี คือ ส้ม กับ แดง  ถ้าถามเด็กว่า ครูจะจับออกมา 1 ลูก เด็กๆคิดว่าจะจับได้สีไหน  เด็ก จะตอบไม่เหมือนกัน  บ้างก็สีแดง บ้าก็สีส้ม                   
    เงินเหรียญ จะมีทางหัว และทาง ก้อย ถ้าเราโยนขึ้นไป แล้วถ้ามันตกลงมา ทายว่ามันจะออก ทางไหนหัว หรือ ก้อย
      ปากกาสี ฟ้า เหลือง ส้ม ถ้าเราสุ่มจับปากกามาแท่งหนึ่งทายว่าจะออกมาสีไหนสีฟ้า  สีส้ม หรือ  สีเหลือง 

     


กลุ่ม การวัด 
- เกมวัดความยาว คือจะให้เด็กเปรียบเทียบความสูงของสัตว์ ปลา หนอน และยีราฟ โดยเรียงสับกันแล้วถามเด็กว่าตัวไหนสูงกว่ากัน เตี้ยกว่ากัน แล้วก็สามารถเรียงลำดับจากสูงไปหาเตี้ย หรือจากเตี้ยไปหาสูงได้
- เกมเรียงมังคุด มีมังคุด 2 ผล แล้วให้เด็กบอกว่าลูกไหนใหญ่ ลูกไหนเล็ก หรือ ลูกไหนหนัก ลูกไหนเบา
- เกมวัดปริมาณน้ำในแก้ว มีแก้วน้ำ 3 แก้ว แล้วให้เด็กบอกว่าแก้วไหนมีน้ำเยอะสุด และแก้วไหนมีน้ำน้อยสุด
- เกมวัดความสูงของดินสอ จะมีดินสอยาว 1 แท่ง และดินสอที่สั้น 1 แท่ง แล้วจะให้เด็กนำดินสอแท่งเล็กมาวัดว่าต้องใช้กี่แท่งจึงจะเท่าดินสอยาว 1 แท่ง
- เกมวัดความสูงของตุ๊กตา ตัวไหนมีขนาดใหญ่ เล็ก หรือ ตัวไหนสูง ต่ำ

     

กลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต
เป็นการนำเสนอของกลุ่มดิฉันเอง เกี่ยวกับเรขาคณิต มีการถามเด็กเพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการ ถามเด็กว่าร่างกายของเราส่วนไหนบ้างที่ทำเป็นรูปาสมเหลี่ยมได้บ้าง  และร่างกายของเราส่วนไหนที่ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมได้บ้าง  แล้วให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน โดยให้เด็กจับคู่กับเพื่อน เพื่อนทำรูปทรงต่างๆแล้วมีเกมมาให้เด็กได้ดูได้ทำกัน เช่น
-จะมีรูปสามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม วงกลม ทรงกระบอก ห้าเหลี่ยม ทรงกรวย แล้วมีรูปมาให้เด็กดูแล้วจับคู่กันว่าสามเหลี่ยมคู่กับรูปอะไร วงกลมคู่กับรูปอะไร
- มีเกมต่อจิ๊กซอว์รูปทรงต่างๆ

     


กลุ่ม จำนวนและการดำเนินการ
  เพื่อนๆจะร้องเพลงเก็บเด็กก่อน  แล้วก็เอาเกมมาให้เด็กๆได้ดูได้ทำกัน คือ หาหัวให้สัตว์  เกมเปรียบเทียบรูปผลไม้ที่มีขนาดไม่เท่ากัน ให้เด็กบอกลูกไหนใหญ่ เล็ก หรือ ลูกไหนหนัก เบา  เด็กได้รู้ขนาด  น้ำหนัก




วันนี้มีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับความรู้ที่ได้รับจากการนำเสนอของเพื่อนแต่ละกลุ่ม ซึ่งอาจารย์ให้บอกเลขในใจมา ดิฉันบอกเลข 4  แลัวอาจารย์ให้ไปเอากระดาษแล้ววาด วงกลม 1 วง แล้วให้เอากระดาษสีมาตัดเป็นกลีบดอกไม้ ใครได้เลขอะไรก็ให้ทำกลีบดอกไม้เท่ากับเลขที่เลือก 

         

จากกิจกรรมนี้เด็กได้จำนวนนับว่ามีกลีบดอกไม้กี่กลีบ มีวงกลมกี่วง มีใบไม้กี่ใบ  เด็กได้รูปทรง ว่ามีทรงกลม สามเหลี่ยม


ประโยชน์ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-เด็กได้ทักษะทางคณิตศาสตร์ในเรื่องการวัด รูปทรงเรขาคณิต พีชคณิต จำนวน และความน่าจะเป็น เด็กสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ และความรู้ที่เด็กได้รับนี้เป็นการต่อยอดความคิดเดิมที่เด็กมีอยู่ เพื่อให้เด็กกล้าคิดกล้าแสดงออกได้ถูกวิธี
-สามารถนำเกมการศึกษาทางคณิตศาสตร์มาสอนเด็ก เพื่อให้เด็กได้คิดหาคำตอบด้วยตนเอง เพื่อนส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็กด้วย

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556


บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิ่น
วันพุธ ที่ 27 เดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2556
                  เวลาเข้าสอน 08.30 อาจารย์เข้าเวลา 08.40 น. เวลาเลิกเรียน 12.20 น

การเรียนวันนี้เป็นการนำเสนองานของนักศึกษาแต่ละกลุ่มซึ่งข้าพเจ้าออกไปนำเสนองานเช่นกัน จึงไม่ได้บันทึกข้อมูลเอาไว้ จึงได้ไปหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งอื่นมาเสริมเติม
การนำเสนอ
กลุ่มที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ

ผู้เรียนมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับจำนวนจริง มีความเข้าใจเกี่ยวกับอัตราส่วน สัดส่วน ร้อยละ เลขยกกำลังที่มีเลขชี้กำลังเป็นจำนวนเต็ม รากที่สองและรากที่สามของจำนวนจริง ใช้การประมาณค่าในการดำเนินการและแก้ไขปัญหา และนำความรู้เกี่ยวกับจำนวนไปใช้ในชีวิต
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี
 มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินห้า และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
 มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินสิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5 ปี
 มีความรู้ ความเข้าใจและมีพัฒนาการด้านความรู้สึกเชิงจำนวน เกี่ยวกับจำนวนนับไม่เกินยี่สิบ และเข้าใจเกี่ยวกับการรวมกลุ่ม และการแยกกลุ่ม
              

กลุ่มที่ 2 เรขาคณิต
ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับสมบัติของความเท่ากันทุกประการและความคล้ายของรูปสามเหลี่ยม เส้นขนาน ทฤษฎีพีทาโกรัสและบทกลับ สามารถนำสมบัติเหล่านั้นไปใช้ในการให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้ มีความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิต (geometric transformation) ในเรื่องการเลื่อนขนาน (translation) การสะท้อน (reflection) และการหมุน (rotation) และนำไปใช้ได้
รูปทรง เรขาคณิตรูปทรงเรขาคณิต หมายถึง รูปที่มีส่วนที่เป็นพื้นผิว ส่วนสูง และส่วนลึก หรือหนา
                        


กลุ่มที่ 3 การวัด
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 3 ปี
    มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร และเวลา สามารถเปรียบเทียบ และใช้คำเกี่ยวกับการเปรียบเทียบความยาว น้ำหนัก และปริมาตร สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลากลางวันและกลางคืน
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 4 ปี
 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถเรียงลำดับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร และเวลา สามารถบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาเช้า เที่ยง เย็น และเรียงลำดับกิจกรรม หรือเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันตามช่วงเวลา
คุณภาพทางคณิตศาสตร์ของเด็กอายุ 5  ปี
 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เวลา และเงิน สามารถวัดและบอกความยาว น้ำหนัก และปริมาตร โดยใช้เครื่องมือและหน่วยที่ไม่ใช่หน่วยมาตรฐาน สามารถเรียงลำดับเรียงลำดับชื่อวันในหนึ่งสัปดาห์และบอกกิจกรรมหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้ เข้าใจเกี่ยวกับเงิน สามารถบอกชนิดและค่าของเงินเหรียญและธนบัตร 
                      

กลุ่มที่ 4 พีชคณิต

-มุ่งหวังให้ผู้เรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์อย่างต่อเนื่องตามศักยภาพ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างละเอียดถี่ถ้วนรอบคอบ สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และคณิตศาสตร์ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
-ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของแบบรูป สถานการณ์หรือปัญหา และสามารถให้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ระบบสมการเชิงเส้นสองตัวแปร อสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และกราฟในการแก้ปัญหาได้
                
                    
กลุ่มที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
-เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล
-ใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้ อย่างสมเหตุสมผล
-ใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
     ความน่าจะเป็น  หมายถึง ค่าของโอกาส หรือความเป็นไปได้ ซึ่่งสามารถวัดค่าได้เป็นตัวเลข   ( 0 ถึง 1 )   ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 1 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นมาก
ถ้าค่าความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เข้าใกล้ 0 หมายความว่า โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์นั้นน้อยมาก
       ความน่าจะเป็นของเหตุการณ์เป็นดัชนีวัดขนาดการเกิดของเหตุการณ์ ซึ่งสามารถจะนำไป
ประยุกต์ใช้ตัดสินใจดำเนินงานภายใต้สภาวะการณ์ไม่แน่นอน
       ในการทดลองหรือการกระทำใดๆที่ทำให้เกิดผลลัพธ์ไม่แน่นอนหรือผลลัพธ์  มากกว่าหนึ่งผลลัพธ์ เรียกว่า การทดลองสุ่ม
       ผู้เรียนสามารถรวบรวมข้อมูลและจำแนกข้อมูลเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัวที่พบเห็นในชีวิตประจำวันและอภิปรายประเด็นต่าง ๆจากแผนภูมิรูปภาพและแผนภูมิแท่งได้
 
จากการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม


เด็กได้เข้าใจ รู้จัก และรับรู้เรื่องราวพื้นฐานเกี่ยวกับตัวเอง เช่น รูปร่างหน้าตา อวัยวะต่าง ๆของร่างกาย รู้วิธีระวังรักษาร่างกายให้สะอาด ปลอดภัย เรียนรู้ที่จะเล่นและทำสิ่งต่าง ๆด้วยตนเองคนเดียวหรือร่วมกับผู้อื่น แสดงความคิดเห็น ความรู้สึก และแสดงมารยาทที่ดีได้ถูกต้อง เหมาะสม
 
ความรู้ที่ได้รับและการนำไปใช้ในการเรียนการสอน
-ในการสอนคณิตศาสตร์ ควรสอนให้เด็กได้เห็นภาพจริงด้วย
-การสอนคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย ควรสอนบรูณาการเข้ากับจังหวะด้วยเพื่อให้เด็กมีความสุขกับ  การทำกิจกรรม
-มนการสอนคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัยควรหาเกมมาให้เด็กได้เล่นด้วย